top of page

                   นางสมศรี พุทธานนท์ ที่ปรึกษาอาวุโส โครงการ iTAP สวทช.ภาคเหนือ กล่าวว่า ในขอบข่ายของ สวทช.ภาคเหนือ ได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ

ในอุตสาหกรรมอาหาร ภายใต้โครงการของ iTAP ใน ปีที่ผ่านมาถึง 7 ผลิตภัณฑ์ โดยสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในแต่ละรายไม่เกิน 1 แสนบาท


ได้แก่ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบไฟเบอร์สูง เป็นการใช้วัตถุดิบที่เหลือใช้ มาผลิตเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าตัวใหม่ โดยเน้นสินค้าเชิงสุขภาพของห้างหุ้นส่วนจำกัด

บีพีเอฟ อินเตอร์ฟู๊ดส์ จังหวัดเพชรบูรณ์


ผลิตภัณฑ์งาโกโก้สเปรด ห้างหุ้นส่วน จำกัด พีเอยู แอล เทรดดิ้ง จังหวัดเชียงใหม่ มีแนวคิดในการนำกากงาที่เหลือหลังสกัดแล้ว แต่ยังมีมูลค่าสูงอยู่

จึงได้นำกากงาที่ผ่านการสกัดน้ำมันออกมาโดยวิธีการบีบอัด แต่ยังคงคุณค่าสารอาหารที่มีอยู่ในเม็ดงา มาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์งา โกโก้สเปรด


ผลิตภัณฑ์น้ำสลัดฟังก์ชั่นแนล บริษัท กรีนออร์แกนิค ฟาร์ม จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ แนวคิดของบริษัทที่ต้องการผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับคนรักสุขภาพ

โดยแปรรูปเป็นน้ำสลัดฟังก์ชั่น เช่น น้ำสลัดสำหรับคนเป็นโรคความดันสูง หรือผู้ที่ เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการลด น้ำหนัก โดยเน้นเรื่องสรรพคุณของสมุนไพร


ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด็กจากกล้วยน้ำว้า ผสมผักอินทรีย์พร้อมบริโภค จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิราพร ฟู๊ดส์ จังหวัดพิษณุโลก แนวคิดของผลิตภัณฑ์ก็คือ

ห้างทำกล้วยตากอยู่แล้ว จึงนำกล้วยน้ำว้ามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยการนำกล้วยน้ำว้าเสริมผักอินทรีย์ แปรรูปให้รับประทานง่าย พกพาสะดวก

พร้อมบริโภค


ผลิตภัณฑ์ชาจากใบหูกวางจาก บริษัทไฟว์สตาร์ เฮอเบิล แกลเลอรี่ จังหวัดเชียงใหม่ ใบหูกวางมีฤทธิ์ในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ จึงได้พัฒนามาเป็น

ผลิตภัณฑ์ชาใบหูกวาง ในรูปแบบถุง ทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภค


ผลิตภัณฑ์ชากลีบดอกบัวหลวงบริษัท วาไรตี้ เอ็กพอร์ต จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ชาดอกบัวหลวง มีสีสันสดใสรสชาติ กลิ่น ดึงดูด มีสารต้านอนุมูลอิสระ

เหมาะสำหรับการทำชาเพื่อสุขภาพ


การพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมจากฟักข้าว จากบริษัท สาธุแก็ค ฟูดส์แอนด์เบเวอร์เรจ จำกัดจ.เชียงใหม่ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ไลโคเฟียว

เป็นการนำเอาเนื้อผลฟักข้าวที่ผ่านการสกัดน้ำมันออกมาแล้ว มาใช้เป็นส่วนประกอบอาหารเสริมในลักษณะพร้อมชง โดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมกับบริษัท

ร่วมกันพัฒนาขึ้น


นางสมศรีกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ทาง สวทช.ให้การสนับสนุนอย่างไรก็ดี โครงการของ สวทช. มี 2 โครงการที่ร่วมกันกับ

นอร์ทเทิร์น ฟู้ด วัลเลย์คือ การใช้เทคโนโลยีในส่วนของต้นน้ำ เช่น สมาร์ทฟาร์ม และกลางน้ำคือ การทำให้ของที่เหลือจากกระบวนการผลิต ที่เคยนำไปแปรรูป

แล้วมีมูลค่าน้อย ทำให้เกิดมูลค่าสูงขึ้น  เช่น 7  ผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวมา


เมื่อเอกชนพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ก็จะส่งต่อไปที่งานแสดงสินค้า ประสานกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในการหาตลาดให้ต่อไป


นอกจากนี้ กลไกอื่น ๆ ที่จะช่วย ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการหรือเข้ามาใช้การวิจัยพัฒนา ยังสามารถลดหย่อนภาษี จากการวิจัยได้ถึง 3 เท่าอีกด้วย


นางสมศรีกล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวมีการพัฒนาต่อยอดไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ประกอบการอยากให้หันมามองเรื่องของการวิจัยพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารในภาคเหนือ ซึ่งมีจำนวนมาก ในขณะที่วัตถุดิบราคาสูงขึ้น สภาพแวดล้อมที่ทำให้การผลิตไม่เหมือนเดิม ผลิตได้น้อยลง การนำวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีมาใช้ อาจจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง อีกด้วย

 

แหล่งที่มา : 2558.  สวทช.เหนือโชว์ 7

ผลิตภัณฑ์ไทยแลนด์นอร์ทเทิร์น ฟู้ด วัลเลย์. ประชาชาติธุรกิจ. 

ฉบับวันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2558, หน้า 21

>>>>

สวทช.เหนือ โชว์ 7 ผลิตภัณฑ์...

bottom of page