top of page

มาตรฐาน

แปลงเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐานทางวิชาการเกษตรที่ดี “ออแกนิค ไทยแลนด์”

 

1          การกำจัดวัชพืช

            การพลิกดิน

                        กำจัดต้นหญ้าแบบปลอดภัยด้วยการขุดลงไปใต้รากของต้นหญ้า และพลิกดินขึ้นเพื่อกลับต้นหญ้าให้ฝังลงไปในดินที่มืดและร้อน ซึ่งจะช่วยยับยั้งการเติบโตและทำให้หญ้าตาย

ขุดต้นหญ้าแล้วนำไปทำปุ๋ยหมัก

            โดยการขุดรากถอนโคนแล้วนำไปทำปุ๋ยหมักเพื่อนำกลับมาใชในสวนต่อไป และเน้นกำจัดต้นหย้าที่มีเมล็ดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายที่มากขึ้น

กำจัดหญ้าด้วยเศษตะไคร้คลุมดิน

            ต้นหญ้าอ่อนฆ่าได้ง่ายด้วยการนำเศษตะไคร้เกลี่ยปิดคลุมหน้าดิน เพราะเศษใบตะไคร้เหล่านี้จะปิดโอกาสที่แสงแดดและอากาศจะส่งถึงต้นหญ้า ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช โดยให้คลุมหนาโดยประมาณ 3 นิ้ว      

2          การเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช

            การเก็บเกี่ยว พืชสมุนไพร ให้ได้คุณค่ามากที่สุด สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ช่วงเวลาการเก็บพืชสมุนไพรและวิธีการเก็บ โดยทั่วไปการเก็บส่วนของพืชสมุนไพรแบ่งออกตามส่วนที่ใช้ ได้แก่

พืชสมุนไพรประเภทใบ จะเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด โดยเก็บใบไม่อ่อนหรือแก่เกินไป พืชสมุนไพรประเภทใบ เช่น ใบเตย ใบตะไคร้ ใบฝรั่ง ใบหม่อน เป็นต้น

พืชสมุนไพรประเภทดอก จะเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน เช่น ดอกพุดซ้อน แต่มีบางชนิดที่เก็บในช่วงดอกตูม เช่น ดอกกุหลาบ ดอกบัว จากนั้นนำใส่ถุงเพื่อป้องกันการปนเปื้น ขนส่งมายังโรงงานเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป

พืชสมุนไพรประเภทผล จะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุกก็มี เช่น ฝรั่ง แต่โดยทั่วไปมักเก็บเมื่อผลแก่เต็มที่แล้ว

 

3          การดูแลและบำรุงพืช

            ขั้นตอนที่ 1

                        รดน้ำด้วยสปริงเกอร์ เช้า-เย็น ทุกวัน เพื่อให้ผลผลิตเติบโตอย่างสวยงาม

            ขั้นตอนที่ 2

                        กำจัดวัชพืช เพื่อลดการแย่งสารอาหาร

            ขั้นตอนที่ 3

                        พรวนดินเพื่อให้ดินร่วนและดูดซึมได้ดี

            ขั้นตอนที่ 4

                        ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เดือนลพ 1 ครั้ง ซึ่งทางองค์กรจัดทำขึ้นเอง เพื่อให้ผลผลิตเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

            ขั้นตอนที่ 5

                        คลุมหน้าดินโดยการนำเศษตะไคร้จากบริษัทไปคลุมหน้าดินเพื่อให้วัชพืชเติบโตช้า

            ขั้นตอนที่ 6

                        ตัดแต่งผลผลิตเพื่อให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

4          การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์

            องค์กรเรามีการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อใช้ในสวนเกษตร ซึ่งจะมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเกษตรกรรมมาให้ความรู้แก่เกษตรกร และการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์แต่ละขั้นตอนเรามีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อควบคุมการดำเนินการ เพราะเราตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก

ขั้นตอนที่ 1

            นำเศษตะไตร้ ที่เตรียมไว้ตักใส่ในบุ้งกี๋ เทลงพื้นที่แล้วเกลี่ยให้ทั่ว นำสายยางมาฉีกน้ำให้เปียกเป็นชั้นที่ 1

ขั้นตอนที่ 2

            นำปุ๋ยมูลวัวที่เตรียมไว้เทบนเศษตะไคร้แล้วเกลี่ยให้ทั่ว จากนั้นฉีดน้ำให้เปีบกทั่วกอง

ขั้นตอนที่ 3

            ทำเหมือนขั้นตอนที่ 1-2 อีก 5 ชั้น

           

 

5          การป้องกันโรคพืช

            โรคพืชที่มักพบเจอบ่อยๆ เช่น โรครากเน่า โรคเพลี้ยแป้ง หนอนชอนใบ โรคเพลี้ยไฟ  เป็นต้น โดยเรามีการใช้น้ำหมักอินทรีย์ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและลดการเป็นโรค

            สวนของเราเป็นสวนปลอดสารเคมีอีกทั้งยังมีวิธีการดูแลรักษาผลผลิตเพื่อให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำที่ใช้เพาะปลูก มีการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐานเกษตร Organic และระบบมาตรฐาน GAP แก้เกษตรกร เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง มีผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

6          รอยยิ้มการเกษตร

            วิถีการเกษตร มีความสำคัญมากที่สุดของโลก เนื่องจากมนุษย์ทุกคน ต้องการบริโภคอาหาร ส่วนเกษตรกรคือ ผู้ที่สร้างอาหารพื้นฐานเหล่านั้น หาดขาดเกษตรกรไป อาชีพทางการเกษตรก็ไม่อาจมีได้อีกต่อไป และหากอาชีพเกษตรกรตกต่ำผลผลิตก็ย่อมขาดแคลน

            ดังนั้นทางองค์กรของเราจึงให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่เป็นผุ้ทำหน้าที่เพาะปลูก และดูแลผลิตทางการเกษตรที่จะป้อนเข้าสู่โรงงาน ถึงแม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยจากการทำสวนมากเพียงใด แต่เมื่อได้เห็นผลผลิตที่ไปสู่ผู้บริโภคมีความปลอดภัย ไร้สารเคมีต่างๆ เกาตรกรของเราก็มี “รอยยิ้ม” เสมอ ด้วยความภูมิใจที่ได้มอบสิ่งดีๆแก่ผู้บริโภค

 

 

 

 

 

7 พืชอินทรีย์

            คือพืชหรือผลิตผลจากระบบการผลิตที่ไม่มีการใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์หรือที่มีการตัดต่อพันธุกรรม(GMOs) ผลผลิตไม่มีสารพิษตกค้างใดๆ เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติและหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สุงสุด

8  การผลิตพืชอินทรีย์

            เป็นระบบการผลิตพืชที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สมดุลธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ มีการจัดการระบบนิเวศที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนสังเคราะห์ต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรม เน้นการใช้อินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ในการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทางโรคและแมลงได้ด้วยตนเอง กระบวนการผลิตและผลผลิตที่ได้จึงปลอดภัยต่อผู้ผลิต และผู้บริโภค และไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม

            พืชอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรอินทรีย์ และในปัจจุบันตลาดโลกมีความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิต และผู้ส่งออกสินค้าเกษตรซึ่งทำรายได้ที่สำคัญให้แก่ประเทศ จึงควรส่งเสริมสนับสนุนการผลิตการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้มากขึ้น

9  การรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์

            กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจำแนกการรับรองออกเป็น 6 ประเภท คือ การรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ การรวบรวม การแปรรูป การจัดจำหน่าย และการนำเข้า

            ผู้ได้รับการรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ จะได้รับใบรับรองเป็นประกาศนียบัตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ(กรณีส่งออกไปยังต่างประเทศ) พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ (Organic Thailand) พิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงว่าเป็นผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อินทรีย์

การกำจัดวัชพืช
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
พืชอินทรีย์
การผลิตพืชอินทรีย์
การรับรองการผลิตพืชอินทรีย์
การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์
การป้องกันโรคพืช
การดูแลบำรุงพืช
รอยยิ้มการเกษตร
bottom of page